• หน้าแรก
  • สินค้า
    • ผลิตภัณฑ์ใหม่และสินค้าแนะนำ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์น้ำยาทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
    • ผลิตภัณฑ์การเกษตร สิ่งแวดล้อม และปศุสัตว์
    • ผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน​
  • ข่าวสาร
  • บทความน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • 02-152-5405
  • bioinnotech@gmail.com
  • จันทร์-ศุกร์ 8.30-17.30
ร่วมงานกับเรา!
Twitter
Facebook
Line
  • หน้าแรก
  • สินค้า

      ผลิตภัณฑ์ใหม่และสินค้าแนะนำ

      ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์

      ผลิตภัณฑ์น้ำยาทางการแพทย์

      ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข

      ผลิตภัณฑ์การเกษตร สิ่งแวดล้อม และปศุสัตว์

      ผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน​

    • ผลิตภัณฑ์ใหม่และสินค้าแนะนำ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์น้ำยาทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
    • ผลิตภัณฑ์การเกษตร สิ่งแวดล้อม และปศุสัตว์
    • ผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน​
  • ข่าวสาร
  • บทความน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

|


02-152-5405

|

  • หน้าแรก
  • สินค้า

      ผลิตภัณฑ์ใหม่และสินค้าแนะนำ

      ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์

      ผลิตภัณฑ์น้ำยาทางการแพทย์

      ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข

      ผลิตภัณฑ์การเกษตร สิ่งแวดล้อม และปศุสัตว์

      ผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน​

    • ผลิตภัณฑ์ใหม่และสินค้าแนะนำ
    • ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์น้ำยาทางการแพทย์
    • ผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข
    • ผลิตภัณฑ์การเกษตร สิ่งแวดล้อม และปศุสัตว์
    • ผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน​
  • ข่าวสาร
  • บทความน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

|


02-152-5405

|

5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มากับหน้าฝน

หน้าหลัก > บทความน่ารู้

โรคฮิต ฤดูฝนนี้ จะมาทำความรู้จักกลุ่ม โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากในฤดูฝนนั้นอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมากทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี หากถูกฝนก็มีโอกาสเจ็บป่วยมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย จากสถิติเมื่อปี พ.ศ. 2556 พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากเป็นอันดับที่ 2 และเป็นโรคที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมเป็นอันดับที่ 1 จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจกัน

1. โรคหวัด (Acute Rhinopharyngitis: Common cold)

  โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหาย ดีเอง
การติดต่อ
  ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza virus) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus)) และอื่นๆ ติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจาย จากการไอหรือหายใจรดกัน หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูกหรือตา ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ
อาการที่ควรไปพบแพทย์
  เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะ เหลืองเขียว ปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก ไข้สูง มีอาการหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด

อาการที่พบ
  เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เยื่อบุโพรงจมูก เชื้อจะเกาะและเข้าสู่เซลล์เยื่อบุ แบ่งตัวเพิ่มจำนวนและทำให้เซลล์ถูกทำลาย เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุบวมและแดงพบว่ามีการหลั่งของเมือกออกมา ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-3 วัน (โดยเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมง) จึงจะแสดงอาการ อาการของโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหลลักษณะใส ไอ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ อาจมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย ในผู้ใหญ่อาการจะน้อยมากอาจมีแค่คัดจมูกและน้ำมูกไหล (ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคทางการหายใจ) อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10-14 วัน
การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรค
  1. เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น
  3. หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
  4. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
ภาวะแทรกซ้อน
  1. คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว
  2. ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน
  3. เยื่อบุตาอักเสบ
  4. หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ
การป้องกันการติดเชื้อ
  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด

Copyright 2021 by BIO Group Thailand